top of page

ประวัติของจังหวัดเเพร่

เมืองแพร่ เป็นเมืองเก่าเมืองหนึ่งในภาคเหนือของประเทศไทย ประวัติการสร้างเมือง ไม่มีจารึกในที่ใดที่หนึ่งโดยเฉพาะการศึกษาเรื่องราวของเมืองแพร่จึงต้องอาศัยหลักฐาน ของเมืองอื่น เช่น พงศาวดารโยนก ตำนานเมืองเหนือ ตำนาน การสร้างพระธาตุลำปางหลวง และศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เป็นต้นตำนานพระธาตุช่อแฮกล่าวว่า เมืองแพร่มีมาตั้งแต่ สมัยพุทธกาล ตำนานวัดหลวงกล่าวไว้ว่าประมาณ พ.ศ. 1371 พ่อขุนหลวงพล ราชนัดดาแห่งกษัตริย์น่านเจ้าได้อพยพคนไทย ( ไทยลื้อ ไทยเขิน) ส่วนหนึ่งจากเมืองเชียงแสน ไชยบุรี และเวียงพางคำลงมาสร้างเมืองบนที่ราบริมฝังแม่น้ำยม ขนานนามว่า เมืองพลนคร (เมืองแพร่ปัจจุบัน) ตำนานสิงหนวัติกล่าวว่าเมืองแพร ่เป็นเมือง ที่ปกครองโดยพญายี่บาแห่งแคว้นหริภุญไชยสันนิษฐานว่าเมืองแพร่และเมืองลำพูนเป็นเมือง ที่สร้างขึ้นมาในระยะเวลาใกล้เคียงกัน ซึ่งสอดคล้องกับหลักศิลาจารึก พ่อขุนราม คำแหง มหาราชหลักที่ 1 ด้านที่ 4 บรรทัดที่ 24 - 25 ซึ่งจารึกไว้ว่า . “.. เบื้องตีนนอน รอดเมืองแพล เมืองน่าน เมือง … เมืองพลัวพ้นฝั่งของ เมืองชวา เป็นที่แล้ว …” ในข้อความนี้ เมืองแพล คือ เมืองแพร่ ศิลาจารึกนี้สร้างขึ้นใน พ.ศ. 1826 จึงเป็น สิ่งที่ยืนยันถึง ความเก่าแก่ ของเมืองแพร่ ว่าตั้งขึ้นมาก่อนเมืองเชียงใหม่และเชื่อว่าเมืองแพร่ได้ก่อตั้งขึ้นแล้วก่อนการตั้งกรุงสุโขทัยเป็น ราชธานี ชื่อเดิมของเมืองแพร่ การก่อตั้งชุมชนหรือบ้านเมืองส่วนใหญ่ในภาคเหนือมักปรากฎ ชื่อบ้านเมืองนั้นในตำนาน เรื่องเล่า หรือจารึกตลอดจนหลักฐานเอกสารพื้นเมืองของเมืองนั้น ๆ แต่สำหรับเมืองแพร่นั้น แตกต่างออกไปเนื่องจากไม่มีหลักฐาน ที่เกี่ยวข้อง โดยตรงจึงมีที่มาของ ชื่อเมืองจากหลักฐานอื่นดังนี้ เมืองพล นครพลหรือพลรัฐนคร เป็นชื่อเก่าแก่ดั้งเดิมที่สุดที่พบ

ในตำนานเมืองเหนือ ฉบับใบลาน พ.ศ. 1824 กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า เจ้าเมืองลำปางได้ส่งคน มาติดต่อเจ้านครพล ให้ไปร่วมงานนมัสการ และฉลองวัดพระธาตุลำปางหลวง และจากตำนาน พระธาตุลำปางหลวงตอนหนึ่งได้กล่าวถึงเจ้าเมืองพลยกกำลังผู้คนไปขุดหาพระบรมสารีริกธาตุ บรรจุไว้ในพระธาตุ แต่ไม่พบ เมื่อศึกษาตำแหน่งที่ตั้งของนครพลตามตำนานดังกล่าว พบว่าคนเมืองแพร่ปัจจุบัน ชื่อพลนครปรากฎเป็นชื่อวิหารในวัดหลวง ตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่ โดยเชื่อว่าวัดนี้เป็นวัด ที่สร้างมาพร้อมกับการสร้างเมืองแพร่และเจ้าเมืองแพร่ให้ความอุปถัมภ์มา ตลอดจนหมดยุค การปกครองโดยเจ้าเมืองเมืองโกศัย เป็นชื่อที่ปรากฎในพงศาวดารเมืองเงิน ยางเชียงแสน ชื่อนี้ใช้เรียกเมืองแพร่ ในสมัยขอมเรืองอำนาจที่ชื่อเมืองในอาณาจักร ล้านนาเปลี่ยนเป็นภาษาบาลีตามความในยุคนั้น เช่น น่านเป็นนันทบุรี ลำพูนเป็นหริภุญไชย ลำปางเป็นเขลาค์นคร เป็นต้น

ชื่อ เวียงโกศัย น่าจะมาจากชื่อดอยที่เป็นที่ตั้งขององค์พระธาตุช่อแฮ ซึ่งเป็นพระธาตุศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้านคู่เมืองแพร่ คือ ดอยโกสิยธชัคบรรพต หมายถึง ดอยแห่งผ้าแพร เมืองแพล เป็นชื่อที่ปรากฎ ในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชหลักที่ 1 ด้านที่ 4 โดยคำว่า แพล น่าจะมาจากศรัทธาของ ชาวเมืองที่มีต่อพระธาตุช่อแพร หรือช่อแฮที่สร้างขึ้น ภายหลังการสร้างเมืองต่อมาจึงได้เรียกชื่อ เมืองของตนว่า เมืองแพล และได้กลายเสียงเป็นเมืองแพร่ปัจจุบัน

ทำไมจังหวัดแพร่เขาเรียกว่าแพร่แห่ระเบิด

แพร่แห่ระเบิด

คือมีครั้งหนึ่งในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง นายหลง มโนมูล คนงานรถไฟสถานีแก่งหลวงได้ไปพบลูกระเบิดที่ทิ้งจากเครื่องบินของฝ่ายสัมพันธมิตร ที่นำระเบิดมาทิ้งเพื่อทำลายสะพานรถไฟข้ามน้ำห้วยแม่ต้า (อยู่ระหว่างสถานีรถไฟเด่นชัยกับสถานี รถไฟบ้านปินอำเภอลอง)เพื่อสกัดการเดินทางของทหารญี่ปุ่นเมื่อคราวสงครามโลกครั้งที่สอง(พ.ศ.2485 - 2488)เป็นคนแรกซึ่งนำระเบิดด้าน(ไม่ระเบิด)จึงได้มาบอกนายสมาน หมื่นขัน ทราบ นายสมานจึงได้ไปดูและขอความช่วยเหลือจากคนงานรถไฟสถานีรถไฟแก่งหลวงที่อยู่ใกล้เคียงได้แก่ นายชุม ขันแก้ว นายชัยวัฒน์ พึ่งพอง นายพินิจ สุทธิสุข นายย้าย ปัญญาทอง ให้มาช่วยกันขุดขึ้นจากหลุมทรายที่ทับถมอยู่มีจำนวน 2 ลูก(มีขนาดความโตกว่าถังแก๊สชนิดยาว)และทำการถอดชนวนระเบิด แล้วใช้เรื่อยตัดเหล็กตัดส่วนหางของลูกระเบิด ล้วงเอาดินระเบิดออกแล้วเอาดินระเบิดที่ล้วงออกมาได้ นำไปประกอบสร้างระเบิดลูกเล็กๆ ขึ้นใหม่ได้หลายลูก แล้วนำไประเบิดปลาที่แม่น้ำยมได้ปลามากินมากมาย ความหนักของลูกระเบิดที่นำขึ้นบรรทุกล้อ(เกวียน)ถึงกับทำให้ซ้าวล้อ(คานของเกวียน)หักต้องเปลี่ยนใหม่ ส่วนระเบิดลูกที่สามช่วยกันขุดด้วยแรงคนไม่ได้เพราะจมอยู่ในหลุมทรายลึกมากจึงได้ไปตาม นาย บุญมา อินปันตี ซึ่งเป็นเจ้าของช้างลากไม้อยู่บริเวณใกล้เคียงให้นำช้างมาลากลูกระเบิดขึ้นจากหลุมทรายได้ทำการถอดชนวนและล้วงเอาดินระเบิดออกมาสมถบกับสองลูกที่นำมาก่อนแล้วที่บ้านแม่ลู้ ต.บ้านปิน จากนั้นก็ลากโดยบรรทุกบนล้อ(เกวียน) มุ่งเข้าสู่หมู่บ้าน ชาวบ้านสองข้างทางทราบข่าว และเห็นล้อ บรรทุกลูกระเบิดตามกันมา 3 คัน ต่างก็เดินตามกันมาเป็นขบวนยาว ผ่านหน้าบ้านผู้ใด ต่างก็เดินเข้ามาสมทบเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย จนมาถึงบ้านแม่ลานเหนือใกล้วัด ชาวบ้านยิ่งออกมาดูกันมากขึ้น ชาวบ้านจำนวนหนึ่งที่บ้านอยู่ใกล้วัดได้นำฆ้อง-กลองยาว ฉิ่ง-ฉาบ ออกมาต้อนรับขบวนแห่ เหมือนกับการต้อนรับขบวนกฐิน หรือผ้าป่าทำนองนั้น แล้วแห่เข้าวัด ทำการถวายลูกระเบิดให้เป็นสมบัติของวัดเพื่อใช้เป็นระฆัง ส่วนระเบิดลูกที่ 2 ขบวนแห่นำไปถวายที่วัดศรีดอนคำ ต.ห้วยอ้อ สำหรับระเบิดลูกที่ 3 ขบวนแห่นำไปถวายที่วัดนาตุ้ม ต.บ่อทองลอง ปัจจุบัน (พ.ศ.2553) ระเบิดลูกที่ 1 เก็บไว้ที่วัดแม่ลานเหนือ ต.ห้วยอ้อ ระเบิดลูกที่ 2 เก็บไว้ที่วัดศรีดอนคำ ต.ห้วยอ้อ ส่วนระเบิดลูกที่ 3 เก็บไว้ที่วัดนาตุ้ม ต.บ่อทองลอง ทางวัดได้สร้างหอระฆังสูงไว้รองรับสวยงามมาก แต่หลังจากมีผู้นิยมเล่นของเก่าชนิด หายากและแปลก ๆ ได้มาขอซื้อโดยเสนอราคาให้ถึง 1 ล้านบาท ชาวบ้านเห็นว่ามีราคามากจึงมีมติไม่ขายและเกิดหวงแหนเห็นคุณค่า เกรงจะถูกลักขโมยจึงได้สร้างห้องลูกกรงเหล็กดัดล้อมไว้ สะพานรถไฟข้ามน้ำห้วยแม่ต้า

ดังนั้นแม้ว่าระเบิดที่ถวายวัดทำระฆังทั้ง 3 ลูกของเมืองลอง คือ วัดพระธาตุศรีดอนคำ วัดแม่ลานเหนือ และวัดนาตุ้ม (และอีก 1 ลูกที่วัดพระธาตุไฮสร้อย) จะไม่ใช่ที่มาของคำกล่าวล้อเลียน “เมืองแพร่แห่ระเบิด” แต่คุณค่าก็ไม่ได้ลดน้อยลงไปเลย ตรงกันข้ามกลับเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชิ้นสำคัญในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 แสดงถึงภูมิปัญญาอันชาญฉลาดของคนรุ่นก่อน และแสดงถึงความเชื่อศรัทธาในพระพุทธศาสนา ที่สามารถนำมาใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับเยาวชนภายในท้องถิ่น ตลอดจนถึงผู้สนใจที่จะมาศึกษาเที่ยวชมได้ แต่ที่สำคัญขึ้นอยู่กับว่า “เรา” จะศึกษาและทำความเข้าใจกับมรดกชิ้นนี้ได้ลึกซึ้งและดีแค่ไหน ก่อนที่จะทำการเผยแพร่เรื่องราวออกสู่สาธารณชนในสังคมวงกว้าง ตั้งแต่ระดับ“ท้องถิ่น(ภาคเหนือ)”“ประเทศไทย”และ “อาเซียน”ต่อไป


RECENT POSTS:
SEARCH BY TAGS:
ยังไม่มีแท็ก
bottom of page